การอุดฟันหรือ Tooth Filling เป็นการรักษาฟันที่ถูกทำลาย ด้วยวิธีการเติมวัสดุที่ตัวฟัน เพื่อทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไปไม่ว่าจะเป็นฟันผุ สึก หรือ ฟันกร่อน เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้ว วัสดุอุดฟันจะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ คือ วัสดุสีโลหะและวัสดุสีเหมือนฟัน ทั้ง 2 แบบนี้จะมีลักษณะอย่างไร และมี ข้อดี ข้อเสีย ต่างกันอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ
อุดฟันวัสดุสีโลหะ หรือ Amalgam Filling เป็นวัสดุอุดฟัน ใช้งานง่าย มีความแข็งแรงสูง ซึ่งวัสดุชนิดนี้มีส่วนผสมของปรอท ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมนำมาใช้ เนื่องจากมีการพัฒนาของวัสดุสีเหมือนฟันที่ใกล้เคียงแล้ว และยังมีประเด็น เรื่องความเป็นพิษขยะต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากวัสดุชนิดนี้ วัสดุอุดอะมัลกัมจะมองเห็นสีชัดกว่าการอุดฟันแบบคอมโพสิต จึงไม่เหมาะสำหรับฟันหน้าที่ค่อนข้างเน้นเรื่องความสวยงาม
1. มีความคงทน แข็งแรงต่อการบดเคี้ยว
1. มองเห็นสีวัสดุอุดฟันชัด
2. ไม่เหมาะสำหรับฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม
3. ต้องกลับมาขัดอีกรอบ
อุดฟันวัสดุสีเหมือนฟัน หรือ Resin Composite Filling เป็นการอุดฟันสีเหมือนฟันที่มีความเป็นธรรมชาติ และเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมากที่สุด สามารถใช้อุดฟันได้ทั้งฟันหน้าและฟันกรามซึ่งจะต้องทำโดยผ่านการฉายแสง
1. มีความสวยงาม เนื่องจากมีสีที่เหมือนฟันธรรมชาติ มีเฉดสีให้เลือกเยอะ
2. สามารถใช้ได้ทั้งฟันหน้าและฟันกราม
3. สามารถใช้งานฟันได้ทันที
4. ปลอดภัย เนื่องจากตัววัสดุไม่มีสารปรอทผสม
1. มีราคาสูงกว่าแบบโลหะ
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมที่เวลาเราฟันผุหรือฟันเป็นรูแล้วเราจะต้องอุดฟันด้วย ทั้งๆที่เป็นรูแค่นิดเดียว ปัญหาเล็กน้อยที่เราชอบมองข้าม หากเราปล่อยให้มันเรื้อรังสักวันหนึ่งมันก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ แน่นอนว่าจากฟันรูเล็กๆ ก็กลายเป็นอาการอย่างอื่นที่มากขึ้นตามมา เช่น ฟันผุใหญ่ขึ้นจนทะลุโพรงประสาท เหงือกอักเสบ เป็นหนอง รากฟันติดเชื้อ ฟันล้ม
1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจเช็คสุขภาพฟันก่อนว่ามีปัญหาฟันผุมากน้อยแค่ไหน สามารถทำการอุดฟันเพื่อแก้ไขได้หรือไม่
2. ทันตแพทย์จะทำการกรอฟัน เพื่อกำจัดฟันที่ผุที่ติดเชื้อ และเตรียมโพรงฟันให้เหมาะสำหรับการอุด (อาจมีการใช้ยาชาร่วมด้วย หากฟันผุลึกมาก)
3. หลังจากทำการกรอฟันแล้ว ทันตแพทย์จะใส่วัสดุอุดฟันไป ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำสลับกับการฉายแสงเพื่อให้วัสดุเกิดการแข็งตัว
4. เมื่อทันตแพทย์ใส่วัสดุอุดฟันเสร็จแล้วก็จะทำการขัดแต่งให้สวยงาม และพอดีกับการบดเคี้ยว พร้อมใช้งาน
เราไม่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไปและยังสามารถกลับมาใช้งานฟันซี่นั้นได้ตามปกติ การอุดฟัน เป็นการแก้ปัญหาไม่ให้ฟันผุลุกลามไปจนถึงขั้นต้องถอนฟัน หรือลามไปมากขึ้น
หากเราทำความสะอาดไม่ดี วัสดุอุดฟันนั้นสามารถเสื่อม และฟันอาจกลับมาผุได้อีก ดังนั้น หากอุดฟันแล้วเราควรดูแลรักษาและทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ
ถาม : จัดฟันอยู่ อุดฟันได้ไหม ?
ตอบ : ได้ค่ะ แต่จะต้องให้ทันตแพทย์ทำการตรวจสภาพฟันให้แน่ชัดเสียก่อนว่า บริเวณที่ต้องทำการอุดฟัน มีเครื่องมือจัดฟันขวางอยู่หรือเปล่า หากมีจะต้องนัดไปเจอกับทันตแพทย์จัดฟันประจำตัวของคนไข้ก่อน ทางที่ดี ควรอุดฟันให้เรียบร้อยก่อนติดเครื่องมือจะทำให้การจัดฟันเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง
ถาม : อุดฟันแล้วอยู่ได้นานแค่ไหน ?
ตอบ : 10-15 ปี และขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพฟันของแต่ละบุคคล
ถาม : การอุดฟันใช้เวลานานไหม ?
ตอบ : ประมาณ 30-40 นาที
ถาม : หลังอุดฟันกินข้าว กินน้ำได้เลยไหม ?
ตอบ : ในกรณีที่อุดฟันสีเหมือนฟันสามารถทานอาหารได้เลย แต่ในกรณีที่อุดฟันแบบโลหะจะต้องหลีกเลี่ยงการบดเคี้ยว หรือ ใช้งานฟันซี่ที่อุดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แต่สามารถทานน้ำหรืออาหารอ่อนได้
ถาม : อาการหลังการอุดฟัน ?
ตอบ : อาจมีอาการเสียวฟันหลังทำการอุดฟัน เนื่องจากเนื้อฟันถูกกรอออก อาการนี้สามารถหายได้เองในช่วง 1-2 สัปดาห์